วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
ในยุคโลกาภิวัฒน์ ไม่มีองค์กรใด อยู่คงทนถาวรโดยปราศจากการพัฒนา ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการวางแผน เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์กร ด้านการตัดสินใจ ซึ่งสารสนเทศที่ดีจะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการแก้ปัญหาของผู้บริหารให้เลือกวิธีที่ดีที่สุด ด้านการดำเนินงาน ช่วยให้ผู้บริหารควบคุมติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ปัจจัยที่สำคัญในการแก้ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ การตัดสินใจซึ่งต้องอาศัยสารสนเทศเป็นสิ่งสนับสนุนการตัดสินใจ ดังนั้นสารสนเทศจึงจำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวมอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ผู้บริหารจึงต้องเลือกระบบสารสนเทศให้เหมาะสมกับองค์กรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารระดับสุดขององค์กร หรือ CEO ต้องเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน จะมีผู้บริหารรับผิอชอบด้านสารสนเทศโดยเฉพาะ ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ หรือ CIO จะเป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ CEO และCKO คือผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการบริหารและการจัดการความรู้ในองค์กร ซึ่งปัจจุบันการจัดการความรู้ หรือสังคมความรู้ภาครัฐและภาคเอกชนกำลังให้ความสำคัญ
ระดับการตัดสินใจมี 3 ระดับ
1.การตัดสินใจระดับสูง สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการตัดสินใจแบบไม่มีการวางแผนล่วงหน้า เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง หรือปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดในองค์กร
2.การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารระดับสูง เป็นปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างหรือเป็นลักษณะการตัดสินใจที่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องเกิดขึ้น แต่มีตัวแปรที่ทำให้การตัดสินใจยุ่งยากมากขึ้น
3.การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ เป็นปัญหาแบบมีโครงสร้าง หรือปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
ระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรมีหลายประเภทได้แก่
1.TPS (Transaction Processing Systems ) เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการผลิตสารสนเทศ เกี่ยวกับรายการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยทำการประมวลผลข้อมูล จัดเก็บข้อมูล เป็นระบบที่เกิดขึ้นในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบสารสนเทศที่จะสร้างเป็นรายงานตามความต้องการของผู้บริหาร
2.MIS (Management Information Systems) เป็นระบบผลิตสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงาน การจัดการ และการตัดสินใจ โดยมีการสร้างฐานข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายร่วมกันทำเป็นรายงานสรุปหรือรายงานพิเศษให้กับผู้บริหารเพื่อใช้ในการวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจ
3.OIS (Office Information Systems) เป็นระบบการจัดเอกสารจัดการข่าวสาร การติดต่อสื่อสารภายในองค์กร และระหว่างองค์กร และเป็นระบบสนับสนุนสำนักงาน
4.DSS (Decision Support Systems) คือระบบสารสนเทศที่ช่วยให้ผู้บริหารพิจารณา พัฒนามาจากระบบ MIS โดยเพิ่มโมเดลในระบบ พัฒนาขึ้นตามความต้องการของผู้บริหารเพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้งานได้ง่าย ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
5.ESS (Excutive Support Systems) เป็นระบบสำหรับผู้บริหารระดับสูง เข้าใจง่ายและสามารถใช้งานได้ง่าย โดยมีรูปแบบของการสื่อสารและกราฟฟิคที่ทันสมัย

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการทำงานในทุกองค์กร องค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของตนเองเพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และทัดเทียม หรือเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ ผุ้บริหารจึงต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงาน
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ดังนี้
1.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่บวกและแง่ลบ
แง่บวก คือ
-วิถีชีวิตของคนในสังคมสะดวกสบายขึ้น เช่น สามารถสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องเดินทางออกนอกบ้าน
-พัฒนาระบบการทำงานให้สะดวก รวดเร็ว ถุกต้อง ประหยัด
-เกิดระบบการทำงานร่วมกัน ได้ทุกที่ทุกเวลา เช่นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย การประชุมทางไกล ระบบวีดีโอคอนเฟอเร้นท์ การโต้ตอบผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
-นำเทคโนโลยีมาช่วยงานส่งเสริมสุขภาพและด้านการแพทย์ให้เจริญก้าวหน้า เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการค้นคว้าวิจัย ช่วยวินิจฉัยโรค
-พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง เช่น ห้องสมุดเหมือน หนังสืออิเล็คโทรนิค ระบบการเรียนออนไลน์ ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การศึกษาทางไกล การเรียนผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เร้นท์
แง่ลบ คือ
-ผลกระทบด้านพื้นฐานของโครงสร้างสังคม ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างแนวความคิดเก่า กับแนวความคิดใหม่
-ก่ออาชญากรรมด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น เช่นการละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้คนขาดคุณธรรม จริยธรรม ความมีน้ำใจลดลง แต่ความเห็นแก่ตัวมากขึ้น
-อัตราการจ้างงานลดลง เนื่องจากใช้เทคโนโลยีแทนแรงงานคน
2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง
มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเมือง แนวความคิด การหาเสียง ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น
3.เทคโนโลยีสมัยใหม่
เมื่อองค์กรมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ นำมาใช้ในการสร้าง, การเตรียมและสะสมสารสนเทศให้อยู่ในรูปของความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงนำมาใช้ดำเนินการและเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการความรู้ (KM: Knowledge management) เมื่อมีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบก่อให้เกิด การถ่ายทอดความรู้ระหว่างคนในองค์กรและคนในองค์กรพัมนาตนเองงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรเมื่อเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ก่อให้เกิดประโยชน์สามารถนำไปใช้แก้ปัญหา สุดท้ายเกิดเป็นปัญญาส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยในการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ความรู้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1.Tacrit knowledge หรือ Inplicit knowledge หรือภูมิปัญญา คือความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล เป็นความรู้จากสามัญสำนึก จากประสบการณ์ การทำงาน หรือการดำเนินชีวิตมาเป็นเวลานาน การเรียนรู้สะสมเป็นควาเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล ไม่สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย
2.Explicit knowledge หรือองค์ความรู้ คือ ความรู้ที่เปิดเผยแสดงอกในรูปแบบต่างๆ สามารถนำมารวบรสม เผยแพร่และถ่ายทอดสู่สาธารณะชนได้โดยผ่านวิธีการต่างๆอย่างเป็นระบบ
ในระบบเศรษฐกิจ พื้นฐานขององค์ความรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ ศักยภาพการแข่งขัน เทคโนโลยีสารสนเทศ และทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนช่วยในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรหลายด้าน ตั้งแต่ประมวลผล การตัดสินใจ ตลอดจนการวางแผนกลยุทธ์ กลยุทธ์ คือการหาแนวทางให้องค์กรสามารถเอาชนะคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขทรัพยากรที่มีอยู่ กลยุทธ์ที่นิยมนำมาใช้ในปจจุบัน ได้แก่ เน้นลูกค้าเป็นสำคัญ การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ การนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างให้ลูกค้า และการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1.การวิเคราะห์กลยุทธ์ โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ SWOT ( SWOT Analysis) คือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในได้แก่จุดแข็ง(S)และ จุดอ่อน(W) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกได้แก่ โอกาส(O) และอุปสรรค(T)
2.การจัดทำกลยุทธ์ โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 และจากการประเมินตนเอง มาทำกลยุทธ์เป็นแนวทางในการดำเนินงาน องค์กร ต้องกำหนด วิสัยทัศน์(Vision ) พันธกิจ(Mission ) และเป็าหมาย ( Goal) การทำธุรกิจในปัจจุบันต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อความอยู่รอดและความก้าวหน้า และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ผู้บริหารต้องใช้เครื่องมือด้านการจัดการสมัยใหม่ เช่น Balance Scorecard ,Benchmarking,Core competencies เข้ามาช่วยในการบริหาร องค์กรต้องวางแผนระยะยาวเพื่อกำหนดการดำเนินธุรกิจและจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินงานและดำรงอยู่ในอนาคต ซึ่งใช้เครื่องดังนี้Balance Scorecard นำมาใช้เพื่อให้ผู้บริหารรู้สภาพความเป็นจริงขององค์กรเพื่อจะได้หาวิธีในการแก้ปัญหาและผลักดันให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบผลประกอบการในการบริหารองค์กร เพื่อให้ยุทธศาสาตร์ขององค์กรประสบความสำเร็จ
Balance Scorecard ประกอบด้วย 4 มุมมอง ได้แก่มุมมองด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และพัฒนา
Benchmarking หรือการเทียบเคียงกับองค์กรที่ได้มาตรฐาน ที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกันหรือทำนองเดียวกันและเกิดประสิทธิภาพทั้งผู้ให้และผู้รับ มีผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่มีใครได้รับหรือเสียประโยชน์อย่างเดียว
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน มีดังนี้
1.เพิ่มปริมาณการขาย โดยนำไปสู่การวิจัยทางการตลาด ช่วยสร้างธุรกิจใหม่ ๆ สร้างความน่าเชื่อถือกับลูกค้า
2.การลดต้นทุนการผลิต เช่นการลดขั้นตอนการทำงาน ลดแรงงานคน
3.การเพิ่มผลผลิต ช่วยควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตมากขึ้น
4.การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบเพื่อให้ได้ผลิตภัฑ์ที่ทันสมัย ในด้านการ บริการ เช่นระบบงานธนาคาร ระบบงานโรงพยาบาล จะช่วยด้านอำนวยความสะดวกในการติดต่อของลูกค้า ปรุบปรุงบริการที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
5.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ อาจเป็นผลิตภัณฑ์แบบใหม่เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและเอาชนะคู่แข่งขันได้ หรืออาจเป็นกระบวนการในการทำงานใหม่ๆที่ช่วยลดต้นทุน
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างแรงผลักดันที่มีต่อองค์กร ดังนี้
1.ด้านเทคโนโลยี ส่งผลต่อรูปแบบการทำงานขององค์กร เช่นลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ลดขั้นตอนการทำงาน
2.บทบาทของบุคคล ทำให้บุคคลมีเครื่องมือและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ ส่งผลให้บุคคลต้องตื่นตัวคอยติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ต้องฝึกอบรมและหาความรู้อยู่เสมอ
3.โครงสร้าง องค์กรหลายองค์กรต้องปรับโครงสร้างให่ให้สอดคล้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่นการรื้อปรับระบบ(Reengeneering)การลดขนาดองค์กร(Downsizing) การจัดขนาดองค์กรให้เหมาะสม (Rightsizing)เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน
4.กระบวนการจัดการ เพื่อให้บุคลากรที่มีความรู้มีแรงจูงใจที่จะทำงานอย่างเต็มความสามารถ
5.กลยุทธ์ ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างและธำรงไว้ซึ่งความได้เปรียบให้องค์กร
ข้อโต้แย้งในการสร้างความได้เปรียบและมีผลกระทบต่อองค์กร
ได้แก่ การสร้างเทคโนโลยีเสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้เวลา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งธรรมชาติของมนุษย์มักต่อต้าน มีความเสี่ยงที่จะไม่คุ้มค่ากับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นบุคคลบางส่วนไม่สามารถปรับตัวได้กับการใช้เทคโนโลยี
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กร
ผลกระทบในด้านดี
1.ช่วยในด้านการรวบรวมข้อมูล ค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จนถึงพิมพ์รายงานสรุป และเพิ่มศักยภาพในการผลิตสารสนเทศ เพื่อเสนอผู้บริหารระดับต่างๆเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการวางแผนการดำเนินงาน และการแก้ปัญหาในการบริหารองค์กร
2.ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
3.เปลี่ยนแปลงวิถีชิวิตการทำงาน ให้สะดวก รวดเร็ว ตรวจสอบได้
4.เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินธุรกิจขององค์กร บางองค์กร มีการรวมสารสนเทศเข้าด้วยกันโดยการทำธุรกิจร่วมกัน เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น
5.องค์กรมีความก้าวหน้าขึ้น
ผลกระทบในด้านลบ
1.สารสนเทศส่วนตัวบางอย่างที่ไม่ต้องการเปิดเผย ถูกละเมิดโดยเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น ทำให้เกิดอันตรายในกรณีที่นำสารสนเทศไปใช้ในทางที่ผิด
2.เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น
การบริหารการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีประสิทธิภาพ ต้องมีการวางแผนและเตรียมปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อุปกรณ์ งบประมาณ พัมนาบุคคลากรในองค์กร ตลอดจนการบริหารจัดการที่ดี ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงและยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่และพร้อมนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สุงสุด

บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม(Innovation ) หมายถึง การคิดริเริ่มหรือการต่อยอดองค์ความรู้เทคโนโลยีกระบวนการเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ผู้กระทำหรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่มาใช้นี้เรียกว่า นวัตกร (Innovator) ในวงการการศึกษา เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา( Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์มาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียน เช่นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบสื่อหลายมิติ และอินเตอร์เน็ต
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1.นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2.นวัตกรรมการเรียนการสอน
3.นวัตกรรมสื่อการสอน
4.นวัตกรรมการประเมินผล
5.นวัตกรรมการบริหารจัดการ
ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษา
1.การจัดการเรื่องการเรียนการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2.เทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
3.การพัฒนาสื่อใหม่ๆมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4.การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตนเอง
5.วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6.การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา เป็นปัจจัยที่มีผลต่อวิธีการศึกษา ซึ่งแนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป มีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา พอสรุปมีดังนี้
1.ความแตกต่างระหว่างบุคคล แผนการศึกษาของชาติ มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถของแต่ละบุคคล ได้แก่การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์ หรือความสามารถเป็นเกณฑ์ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวคิดพื้นฐานนี้ที่เกิดขึ้น มีดังนี้
-การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น
-แบบเรียนสำเร็จรูป
-เครื่องสอน
-การสอนเป็นคณะ
-การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
-เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ความพร้อม ปัจจุบันการวิจัยด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่า ความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวคิดพื้นฐานนี้ ได้แก่
-ศูนย์การเรียนรู้
-การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น
3.การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Scheduling) ปัจจุบันมีการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน การเรียนไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียน นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวคิดพื้นฐานนี้ ได้แก่
-การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น
-มหาวิทยาลัยเปิด
-แบบเรียนสำเร็จรูป
-การเรียนทางไปรษณีย์
4.ประสิทธิภาพในการเรียน ( Learning Performance) ปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ยังต้องมีการแสวงหาวิธีการใหม่ที่ประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งด้านปัจจัยเกี่ยวกับผู้เรียน ปัจจัยถายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น ดังนี้
-มหาวิทยาลัยเปิด
-การเรียนทางวิทยุ โทรทัศน์
-การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
-ชุดการเรียน
องค์ประกอบที่สำคัญของนวัตกรรมการศึกษา ที่เป็นปัจจัยต่อการสร้างนวัตกรรมมี 6 ประการ ดังนี้
1.โครงสร้างองค์กร ควรมีความสอดคล้องเหมาะสม ซึ่งจะเสริมให้เกิดนวัตกรรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
2.บุคคลากร องค์กรที่มีบุคคลากรทีมีความรู้ความสามารถแล้วนำมาประกอบกันให้เกิดแนวคิดอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
3.กระบวนการ ขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การเรียนการสอบ การผลิตสื่อ การบริหารหลักสูตร ควรมีระบบจัดการให้เหมาะสมไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป
4.กลยุทธและยุทธวิธีเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
5.เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่ว่นช่วยบูรณาการโครงสร้าง กำลังคน กระบวนการ และเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธในการจัดการนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาคือ
1.ความเป็นเลิศของบุคคล
2.ความเป็นเลิศของทีมงาน
3.ความเป็นเลิศขององค์กร
หลักการของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประการ ดังนี้
1.นวัตกรรมเป็นเรื่องของความคิด การสร้างความคิดที่ถูกต้องปัจจุบันมุ่งสู่ความคิดเชิงกลยุทธธุรกิจ การดำเนินและการประเมินกลยุทธด้วยเทคนิค การประเมินแบบดุลยภาพ
2.นวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3.ประสิทธิภาพของนวัตกรรม สามารถเพิ่มราคาได้ โดยพิจารณา 3 เรื่องได้แก่ -ค่าใช้จ่ายลดลง - ตั้งราคาจำหน่ายสูงขึ้น - สร้างคุณค่าเหนือราคา
4.ผู้บริหารสูงสุด ต้องนำและมีความรับผิดชอบต่อนวัตกรรม ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์และกลยุทธคิดอย่างสร้างสรรค์ มีภาวะผุ้นำ เป็นแบบอย่างของการสรางนวัตกรรมที่ดี และต้องรับผิดชอบต่อนวัตกรรมที่เกิดขึ้น 5.ผู้บริหารสูงสุด ต้องผูกพันและแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น ผู้บริหารสูงสุดต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร กำกับ ตรวจสอบ และประชาสัมพันธ์ให้นวัตกรรมเกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร โดยใช้เทคนิค"จุดประกาย "
การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษามีกระบวนการ 4 ขั้นตอนดังนี้
1.สร้างความตระหนักถึงความจำเป็นของนวัตกรรม
2.จุดประกายนวัตกรรม
3.สร้างนวัตกรรม อย่างทุ่มเทอย่างจริงจัง พากเพียร และมุ่งมั่น
4.นำนวัตกรรมไปใช้
แนวโน้มการสร้างและการใช้นวัตกรรมในองค์กร
1.การสร้างนวัตกรรมในองค์กร
1.1.กล่องความคิด องค์กรต้องส่งเสริมการเรียนรู้ ของบุคลากรผ่านการอบรม ศึกษาเล่าเรียน และการฝึกอบรม เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่พึงประสงค์ ด้วยการสร้างทุนทางสติปัญญา ซึ่งต้องกระทำอย่างมีกลยุทธ์และมีการวัดผล
1.2.ทุนทางสติปัญญา
สร้างได้ 2 วิธี คือ
1.1.1 ทุนมนุษย์ สามารถกระทำโดยการสร้างให้มีความสามารถ หรือสมรรถนะ ,ทัศนคติ,และความเฉียบคมทางสติปัญญา
1.1.2.ทุนทางโครงสร้าง เน้นฐานข้อมูลข่าวสารภายในองค์กร สิ่งที่ควรสร้างมากที่สุด คือการสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร การพัฒนา และการทำใหม่
1.3.การบริหารนวัตกรรม ที่สำคัญมี 2 ด้าน คือ
1.3.1.การบริหารคนด้วยสติปัญญา เป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้คนที่มีสติปัญญา หรือความเฉลียวฉลาด มีวิธีการดังนี้ คือ สร้างทัศนคติเชิงบวกตลอดเวลา มีความอยากรู้อยากเห็น มีความคิดแบบญาณหยั่งรู้ มีปรัชญาและอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง มีการคิดเชิงกลยุทธ์ มีการคิดเชิงระบบ มีการคิดเชิงเปรียบเทียบ มีการคิดแบบสร้างภาพอนาคต มีการคิดแบบแผนที่การคิด
1.3.2.การบริหารการส่งเสริมสนับสนุน เป็นการดำเนินการด้วยการจัดโครงสร้าง และออกแบบองค์กรให้สอดคล้องต่อนวัตกรรมที่จะมีในอนาคต มีวิธีการดังนี้ การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง การสร้างความผูกพันที่ถูกต้อง การสร้างความคิดที่ถูกต้อง การกระทำที่ถูกต้อง การกำกับที่ถูกต้อง การประเมินที่ถูกต้อง
2.การใช้นวัตกรรมใหม่ในองค์กร
2.2.1.กระบวนการที่ทำให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมใหม่ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
-ระบบที่ 4 คือ ผู้บริหารระดับสูงมองเห็นการแข่งขันอย่างรุนแรง เพื่อแย่งชิงฐานลูกค้าที่จะเกิดใหม่
-ระบบที่ 3 คือ ผู้บริหารระดับกลางมีนโยบายในการพัฒนากลยุทธ์และเทคโนโลยีไปในทางที่เหมาะสม มีการสื่อสารกันภายใน ขนาดองค์กรที่คล่องตัว เข้าใจความต้องการของลูกค้า ซึ่งขั้นตอนี้จะเกิดช่องว่างทางธุรกิจ (Gap Analysis) ที่องค์กรต้องปรับตัวให้มีดุลยภาพ ทั้งด้านนโยบาย แผนกลยุทธ์ และเทคโนโลยี
-ระบบที่ 2 คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ด้านเงินทุนหมุนเวียน การพัฒนาเครือข่ายการให้บริการให้คลอบคลุม การจัดสรรบุคลากร
-ระบบที่ 1 คือการพยายามผลักดันผลิตภัณฑ์ ออกสู่ผู้บริโภคตามกลยุทธ์
การใช้นวัตกรรมใหม่ภายในองค์กร ต้องคำนึงถึง 4 มิติ ดังนี้
1.การติดต่อสื่อสาร ได้ตลอดเวลาของพนักงาน ทำให้การทำงานสะดวกราบรื่น
2.การมีระบบรักษาความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล ทำให้จัดเก็บข้อมูลได้สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ
3.การจัดเก็บข้อมูล ควรจัดเก็บได้จำนวนมาก และเข้าถึงได้รวดเร็ว
4.การติดต่อสื่อสารกันโดยการตอบและรับข้อมูลตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นที่ใด เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว

บทที่ 6 การประยุกตใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและผลิตนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ๆ และนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญมีหลายอย่าง ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนผ่านเวปไซต์ (Web -based Instruction) ,ระบบบทเรียนออนไลน์( e-Learning), ระบบ M-Learning
ซึ่งความแตกต่างระหว่างการเรียนการสอนบนเว็บ ต่างจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำงานภายใต้คอมพิวเตอร์แบบสแตนอโลน หรือทำงานภายใต้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ โดยมิได้ออกแบบเพื่อการสื่อสาร ส่วนการเรียนการสอนบนเว็บทำงานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เชื่อมโยงการสื่อสารได้ทั่วโลก ซึ่งผู้เรียนผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ผู้สอนสามารถติดตามพฤษติกรรม และผลการเรียนของผู้เรียนได้ และสามารถรับส่งข้อมูลการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไม่จำกัดเวลา สถานที่ หรืออาจเรียกว่า ห้องเรียนเสมือนจริง(Visual classroom)
ระบบบทเรียนออนไลน์( e-Learning) เช่นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนบนเว็บ การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ ความหมายของบทเรียนออนไลน์ หมายถึงรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเนื้อหาและรูปแบบการสอนสามารถเป็นรูปแบบทางเดียวหรือการสอนแบบปฏิสัมพันธ์
โมบายเลิร์นนิ่ง (Mobile-Learning) เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีบทบาทและเติบโตอย่างมาก วิธีการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งภาพ เสียง มัลติมีเดีย เว็ปไซต์ ซึ่งในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการให้บริการการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นวิธีใหม่ของวงการศึกษาไทย สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ได้พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ชื่อว่า สวนดุสิตอินเตอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง หรือเรียกว่า SDI โดยเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ประกอบด้วยเนื้อหา ข้อความ ภาพ เสียง หรือแอนนิเมชั่น มีทั้งรายการสดและรายการบันทึก และรายการตามควาามต้องการ
ห้องสมุดเสมือน ของมหาวิทยาลับราชภัฎสวนดุสิตเริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ.2543 ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยในขณะนั้นคือ "อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ภายใต้มาตราฐานเดียวกัน"
ความหมายของห้องสมุดเสมือน เป็นการทำงานของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ประสานกับการจัดการข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานที่ในการจัดเก็บ การเข้าถึงห้องสมุดโดยทางอิเล็คโทรนิค ได้แก่การใช้ห้องสมุดอัตโนมัติ คือระบบ OPAC โดยทำการสืบค้นรายการจากหน้าจอและจากเครือข่ายห้องสมุด แล้วทำการสั่งเอกสารให้ทางห้องสมุดนำส่งในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ทางไปรษณีย์อิเล็คโทรนิค ทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์ ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเหมือน มีการจัดเอกสารในรูปอิเล็คโทรนิคดังนี้ ฐานข้อมูลซีดีรอม ซึ่งสามารถสืบค้นและได้เอกสารฉบับเต็ม
ฐานข้อมูลออนไลน์ การพิมพ์อิเล็คโทรนิค
ห้องสมุดเสมือนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างประสบการณ์การสืบค้นสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ประโยชน์ในการสอน การทำผลงานทางวิชาการและการวิจัยและเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ให้กับนักศึกษาเพื่อประโยชน์ในการเรียน การทำรายงานและการจัดทำภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น