วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเสริมการเรียนวิชา กายวิภาคศาสตร์และ สรีรวิทยา 1 เรื่อง Anatomy and Physiology of Skeletal Muscular System ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1
ชื่อนักศึกษา : สุพัตรา ธิชัย
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : เทคโนโลยีการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-171-9
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนสำหรับเสริมการเรียนที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักศึกษาที่เรียนเสริมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนกับนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนเสริมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อศึกษาเจตคติ และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลหลักสูตร 4 ปี ระดับชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย คริสเตียน ปีการศึกษา 2544 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยจำแนกนักศึกษาตามระดับความสามารถทางการเรียนเป็น 3 ระดับ (สูง ปานกลาง ต่ำ) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง Anatomy and Physiology of Skeletal Muscular System สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้น ปีที่ 1 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบวัดเจตคติและความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ t-test แบบอิสระ ผลปรากฏว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าประสิทธิภาพ 90.17/90.12 ซึ่งยอมรับ สมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนเสริมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนสูงกว่าของนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนเสริมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษามีเจตคติต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระดับดี
เอกสารอ้างอิง
สุพัตรา ธิชัย. (2544). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเสริมการเรียนวิชา กายวิภาคศาสตร์และ สรีรวิทยา 1 เรื่อง Anatomy and Physiology of Skeletal Msclar System ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา
1.ทราบที่มาของแหล่งข้อมูลและวิธีการในการค้นคว้างานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.ทราบวิธีการเขียนบทคัดย่อ ซึ่งประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์งานวิจัยโดยสรุป วิธีดำเนินงานวิจัยโดยสรุป ขอบเขตของกลุ่มเป้าหมาย เครื่อ งมือที่ใช้ในการประเมินซึ่งผู้ทำวิจัยเป็นผู้ออกแบบขึ้นเอง ผลการวิจัยโดยสรุปว่าสอดคล้องกับสมมติฐานหรือไม่ โดยใช้การวิเคราะห์ผ่าน t test(ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับวิจัยนั้นๆ)
3.ทราบวิธีการเขียนเอกสารอ้างอิง
4.ทราบวิธีการสืบค้นข้อมูลจากต้นสังกัด จาก URL ที่ผู้ทำวิจัยให้ข้อมูลไว้
5.ทำให้ทราบถึงสิ่งที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม ได้แก่ ความหมายของคำว่า "อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ "
6.เป็นความรู้เบื้องต้นสำหรับการเตรียมความพร้อมในการทำวิจัยต่อไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น